Wednesday, December 10, 2008

หลักการทำงานของระบบโทรทัศน์

หลักการส่งและรับสัญญาณโทรทัศน์การส่งโทรทัศน์ขาว-ดำ จะดำเนินการส่งสัญญาณด้านภาพ และสัญญาณด้านเสียงออกอากาศขั้นตอนที่สำคัญ คือด้านสัญญาณภาพจะนำสัญญาณทางไฟฟ้าของภาพมารวมกับคลื่นพาหะ หรือแคร์เรีย เรียกว่า วิดีโอ แคร์เรีย (Vidio Carrier) คลื่นนี้สามารถออกอากาศได้ด้านสัญญาณเสียงจะนำสัญญาณไฟฟ้ามารวมกับคลื่นพาหะ หรือ แคร์เรย เรียกว่า ซาวด์ แคร์เรีย (Sound Carrier) คลื่นนี้สามารถออกอากาศได้หลักการเครื่องส่งโทรทัศน์เบื้องต้นด้านสัญญาณภาพกล้องถ่ายภาพ เรียกว่า แคมเม่อร่า ทิ้ว (Camera Tube) จะดำเนินการถ่ายภาพต่างๆ เช่น คน , วิว หรือวัตถุต่างๆ กล้องถ่ายจะเปลี่ยนจากภาพต่างๆ มาเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าของภาพ เรียกว่า วิดีโอ ซิกแนล (Vidio Signal) แล้วจะนำเอา วิดีโอ ซิกแนล ไปขยายให้มีกำลังสูงขึ้นในภาควิดีโอ แอมป์ (Vidio Amp)เครื่องรับโทรทัศน์สัญญาณภาพเรียกว่า วิดีโอแคร์รีย (Vidio Carrier) และสัญญาณเสียงเรียกว่า ซาวด์แคร์เรีย (Sound Carrier) ของแต่ละสถานีส่งโทรทัศน์จะเข้าภาคจูนเนอร์ (Tuner) ภาคจูนเนอร์จะเลือกรับสถานีที่ต้องการสัญญาณด้านเสียงสัญญาณด้านเสียงจะเข้าภาค ซาวด์ดีเทคเตอร์ (Sound Detector) การดีเทคเตอร์จะเป็นแบบ เอฟ เอ็ม ดีเทคเตอร์ (FM Detector) วิธีการดีเทคเตอร์คือการตัดหรือบายพาส (By Pass) แคร์เรีย ลงกราวด์ ดังนั้นสัญญาณด้านเสียงขณะนี้จะเหลือ ซาวด์ซิกแนล (Sound Signal) หรือสัญญาณทางไฟฟ้าของสียง ออดิโอแอมป์ (Audio Amp) จะเป็นภาคขยายเสียง โดยการนำเอา ซาวด์ซิกแนล มาทำการขยายกำลังฬห้สูงขึ้น เพียงพอต่อความต้องการ แล้วส่งซาวด์ซิกแนล ที่ถูกขยายแล้วต่อไปยังลำโพงสัญญาณด้านภาพสัญญาณด้านภาพจะเข้าสู่ วิดีโอดีเทคเตอร์ (Vidio Deyector) การดีเทคเตอร์จะเป็นแบบ เอ เอ็ม ดีเทคเตอร์ (AM Detector) วิธีการดีเทคเตอร์คือการตัดหรือบายพาส (By Pass) แคร์เรียลงกราวด์ ดังนั้นสัญญาณด้านภาพขณะนี้จะเหลือ วิดีโอซิกแนล (Vidio Signal) หรือสัญญาณทางไฟฟ้าของภาพความรู้เกี่ยวกับโทรทัศน์สีการที่คนเราสามารถมองเห็นสีสันต่างๆ ย่อมจะมีความเป็นธรรมชาติ หลังจากที่การคิดค้นเครื่องส่งโทรทัศน์ขาว-ดำ เป็นผลสำเร็จ ก็มีการค้นคว้าพัฒนาเพื่อให้สามารถส่งโทรทัศน์สี โทรทัศน์สีมีองค์ประกอบ มีขั้นตอนต่างๆ ที่สลับซับซ้อนมากมาย แต่มนุษย์เราก็ประสบความสำเร็จในที่สุดสามารถสร้างเคริ่องส่งโทรทัศน์สี ประเทศไทยเริ่มมีกิจการโทรทัศน์สีตั้งแต่ปี 2510 และในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ถูกพัฒนาจนถึงยุคไมโครคอมพิวเตอร์ย่านความถี่แสงและความยาวคลื่นสีสันต่างๆ ที่เกิดจากการที่มนุษย์สร้างขึ้นหรือเกิดจากธรรมชาติ จะมีทั้งสีมองเห็นและสีที่มองไม่เห็น คลื่นแสงที่สามารถมองเห็นจะอยู่ระหว่างรังสีอินฟาเรด (Infraed) กับรังสีอุลตร้าไวโอเลต (Ultraviolet) ส่วนที่นอกเหนือจากนี้จะมองไม่เห็นสี สีสันทั้งหลายต่างมีพลังแม่เหล็กไฟฟ้า คือ มีความยาวคลื่นและความถี่ของแต่ละสีจะไม่เท่ากัน-สีม่วง (Violet) มีความยาวคลื่นประมาณ 400-450 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร-สีน้ำเงิน (Blue) มีความยาวคลื่นประมาณ 450-500 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร-สีเขียว (Green) มีความยาวคลื่นประมาณ 500-570 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร-สีเหลือง (Yellow) มีความยาวคลื่นประมาณ 570-590 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร-สีส้ม (Orange) มีความยาวคลื่นประมาณ 590-610 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตร-สีแดง (Red) มีความยาวคลื่นประมาณ 610-700 มิลลิไมครอนหรือนาโนเมตรหลักการผสมสีหลักการผสมสี คือ การนำเอาแม่สี (Primary Color) 3 มาสีผสมเข้าด้วยกันจะก่อให้เกิดสีสันต่างๆ มากมาย หลักการผสมสี จะมี 2 ลักษณะ คือ แบบแอ็ดดิทีฟ (Additive) และแบบซับแทรกทีฟ (Subtractive)1. การผสมแบบ แอ็ดดิทีฟ (Additive) การผสมในลักษณะนี้จะนำเอาแม่สี 3 แม่สี คือ แดง , เขียว และน้ำเงิน เมื่อนำมาผสมกันเข้าจะได้สีที่เจือจางกว่าเดิม การผสมแบบแอ็ดดิทีฟ จะนำมาใช้ในกิจการโทรทัศน์2. การผสมแบบซับแทรกทีฟ (Subtractive)การผสมแบบซับแทรกทีฟ จะมีมีสี 3 แม่สี มาผสมกันได้แก่-1.แดง-2.น้ำเงิน-3.เหลืองการผสมแบบนี้จะให้สีเข้มข้นกว่าเดิม จะเป็นการผสมใช้ในงานวาดเขียนหรือการพิมพ์แดง+เหลือง = แดง , เหลืองแดง+น้ำเงิน = สีม่วงเหลือง+น้ำเงิน = เขียว แดง+เหลือง+น้ำเงิน = ดำสัดส่วนการผสมแสงสีในวิธีการของโทรทัศน์ สัญญาณส่งสว่าง เรียกว่า สัญญาณลูมิแนนซ์ (Luminance) หรือสัญญาณ Y จะเป็นสัดส่วนที่ชี้บอกความส่องสว่างของสีนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการผสมสีจากแม่สี ผลจากการทดลองเมื่อนำหลอดไฟ สีแดง , น้ำเงิน , สีเขียว ให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสมจะห็นเป็นสีขาวได้จากสมการY = 0.3 R + 0.59 G + 0.11การสร้างสัญญาณสีจากภาพสีภาพที่ปรากฏอยู่ทั่วๆ ไป ที่เราสามารถมองเห็นเป็นภาพสี จะประกอบด้วยสีสันต่างๆมากมาย ส่วนที่จะเปลี่ยนสัญญาณภาพสีเป็นสัญญาณสีได้แก่ กล้องถ่ายโทรทัศน์สีและหลอดภาพสี จะสร้างสัญญาณสีไม่ครบ แต่จะสร้างขึ้นมาเพียง 3 เท่านั้นคือ แดง เขียว น้ำเงิน เครื่องส่งโทรทัศน์สีระบบ PALเครื่องส่งโทรทัศน์สีระบบ (PAL)จากการที่ได้ศึกษาเรื่องกล้องถ่ายภาพโทรทัศน์สี จะพบว่าได้มีสัญญาณทางไฟฟ้าจากกล้องถ่ายแต่ละกล้อง คือสัญญาณเอาต์จากกล้องสีแดง กล้องสีเขียว และกล้องสีน้ำเงิน ขั้นตองต่อไปจะนำสัญญาณทั้ง 3 มาเข้าวงจร เมตริกซ์ จะก่อให้เกิดสัญญาณ1. สัญญาณขาว-ดำ ลูมิแนนซ์ (Luminance) หรือ สัญญาณ Y2. สัญญาณสี โครมิแนนซ์ (Chrominance) ประกอบด้วย- สัญญาณ R-Y- สัญญาณ B-Yหลักการเครื่องรับโทรทัศน์สีเบื้องต้นหลักการเครื่องรับโทรทัศน์สีเบื้องต้น โดยพิจารณาเครื่องรับโทรทัศน์สีจะคล้ายกับเครื่องรับโทรทัศน์ขาว-ดำ จะแตกต่างเฉพาะเครื่องรับโทรทัศน์สีจะเพิ่มวงจรภาคสีหรือโครมิแนนซ์สัญญาณจากสถานีส่ง จะประกอบไปด้วยสัญญาณหลัก 2 สัญญาณ1. สัญญาณด้านเสียง2. สัญญาณด้านภาพ- สัญญาณด้านขาว-ดำ- สัญญาณด้านสี- สัญญาณซิงค์โครไนเซชันสัญญาณเข้ามาที่สายอากาศ จะเข้าสู่วงจรของเครื่องรับคือ จูนเนอร์ จูนเนอร์จะเลือกรับสถานีที่ต้องการ และดำเนินวิธีการของจูนเนอร์จะได้สัญญาณเอาต์พุต จูนเนอร์ คือ VIF และ SIF

Monday, November 17, 2008

ประวัติของโทรทัศน์ในประเทศไทย

ทศวรรษ 2490 (พ.ศ. 2491-2499) • 2492 สรรพศิริ วิริยศิริ จนท.ข่าวต่างประเทศของกรมโฆษณาการ ได้รับฟังข่าวต่างประเทศเกี่ยวกับปรากฏการณ์การประดิษฐ์โทรทัศน์ในยุโรปและอเมริกา จึงมีความสนใจและเขียนบทความเรื่อง วิทยุภาพ แจกในงานทอดกฐิน • 2493 จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้อ่านบทความนั้นและมีความคิดในการจัดตั้งโทรทัศน์ขึ้นมาในประเทศไทย จึงมีจดหมายถึงอธิบดีกรมโฆษณาการปรารภถึงความคิดที่จะจัดตั้งโทรทัศน์ในประเทศไทยขึ้น • 2495 คณะผู้เริ่มจัดตั้ง 7 ท่าน ได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไทยโทรทัศน์ จำกัด โดยมีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ในขณะนั้นมีเสียงคัดค้านจากประชาชนส่วนใหญ่และฝ่ายค้าน เนื่องจากประเทศยังประสบปัญหาเศรษฐกิจ จึงเห็นว่าไม่พร้อมที่จะลงทุนด้านโทรทัศน์ • กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติศัพท์ ‘วิทยุโทรทัศน์’ ขึ้นใช้ • มีการเตรียมความพร้อมโดยการส่งเจ้าหน้าที่ไปดูงานและฝึกอบรมที่บริษัท RCA ของอเมริกา มีการประกวดราคาเครื่องรับส่งโทรทัศน์และเตรียมงานด้านเทคนิคโทรทัศน์ • 24 มิถุนายน 2498 จอมพล ป.พิบูลสงคราม เปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 อย่างเป็นทางการเพื่อเป็นของขวัญวันชาติแก่ชาวไทย และมีคุณจำนง รังสิกุล เป็นหัวหน้าสถานี ทศวรรษ 2500 โทรทัศน์ในฐานะเครื่องมือทางการเมือง (พ.ศ.2500-2509) • 25 มกราคม 2501 มีการก่อตั้งสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ระบบขาวดำ) ขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ทางการทหาร โดย จอมพล สฤษดิ์ ธนรัชต์ • มีการขยายการส่งรัศมีสัญญาณไปยังภูมิภาค และจัดตั้งสถานีโทรทัศน์ส่วนภูมิภาคขึ้น • การช่วงชิงสื่อโทรทัศน์ในช่วงนั้น ระหว่างจอมพล ป. และจอมพล สฤษดิ์ ถือเป็นการใช้โทรทัศน์เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมือง ทศวรรษ 2510 ยุคแห่งการเติบโตและการก้าวสู่ยุคโทรทัศน์สี (พ.ศ.2510-2519) • 27 พฤศจิกายน 2510 สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เริ่มแพร่ภาพในระบบสีเป็นสถานีแรก โดยบริษัทกรุงเทพฯและวิทยุ จำกัด ได้รับสัมปทานจากกองทัพบก โดยออกอากาศการถ่ายทอดการประกวดนางสาวไทยเป็นรายการแรก • 20 ธันวาคม 2511 มีการก่อตั้ง ทีวีพูล หรือโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยขึ้นอย่างเป็นทางการ • 26 มีนาคม 2513 สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ออกอากาศอย่างเป็นทางการในระบบสี • 2517 เป็นปีแห่งโทรทัศน์ระบบสี เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ขาวดำ 2 ช่อง เดิมได้เปลี่ยนระบบออกอากาศจากขาวดำมาเป็นระบบสี ซึ่งได้แก่ - สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 9 ออกอากาศใน ระบบสี - และสถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 ขาวดำ เปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 โดยออกอากาศในระบบสี ทำให้สิ้นสุดทศวรรษนี้ประเทศไทยมีโทรทัศน์ระบบสี 4 สถานีด้วยกัน ทศวรรษ 2520 การพัฒนาทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง (พ.ศ.2520-2521) • เป็นยุคแห่งการพัฒนาด้านธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ทุกช่องที่มีอยู่ และมีการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณภาพของระบบสี • 25 มีนาคม 2520 มีการก่อตั้ง อสมท. แทนที่ บริษัทไทยโทรทัศน์จำกัดที่ยุบไปเพราะเกิดปัญหาภายใน ทศวรรษ 2530 ยุคทองของโทรทัศน์ไทย (พ.ศ.2530-2539) เพราะเป็นยุคที่ประเทศไทยมีครบทั้งโทรทัศน์แบบฟรีทีวี ทีวีเสรี และแบบบอกรับเป็นสมาชิก นอกจากนี้เป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นทำให้อุตสาหกรรมโทรทัศน์เติบโตอย่างมาก • 11 กรกฎาคม 2531 สมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 อย่างเป็นทางการ • 1 พฤศจิกายน 2531 มีการทดลองออกอากาศสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 • ตุลาคม 2532 สถานีโทรทัศน์ ไอบีซี เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกรายแรกของไทย โดยดำเนินงานโดย บริษัท อินเตอร์เนชันแนล บรอดคาสติ้ง คอร์เปอเรชัน จำกัด • 2533 สถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย เคเบิล ทีวี เริ่มดำเนินธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิก โดยบริษัทสยามบรอดคาสติง จำกัด (ต่อมาไทยสกาย ยุติการดำเนินธุรกิจในปี 2540 เนื่องจากปัญหาทางเศรษฐกิจ) • พ.ศ.2537 บริษัทยูทีวี เคเบิลเน็ตเวิร์ค จำกัด เริ่มดำเนินการธุรกิจโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกในนามของ ยูทีวี • 2537 สถานีโทรทัศน์ไอทีวี เริ่มดำเนินการออกอากาศสถานีโทรทัศน์เสรี โดยบริษัท สยามเอนเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ